แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนฟอสเฟต (Lithium Iron Phosphate battery, LFP battery, หรือ LiFePO4) ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ด้วยวัสดุที่ทนความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีได้ดียิ่งขึ้น ให้พลังไฟฟ้าได้สูงกว่า ไร้มลพิษ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิมมาก ใช้เวลาในการชาร์จประจุไฟฟ้าสั้นกว่าเดิม ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนฟอสเฟตมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรด (Lead-acid battery) ให้ความคุ้มค่าในการลงทุนที่เหนือกว่า
รายละเอียด | แบตฯ ลิเทียมไอออนฟอสเฟตแบบใหม่ | แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดแบบดั้งเดิม |
---|---|---|
รอบการใช้งาน | หลังใช้งานแล้ว 4,000 รอบ จะเก็บประจุไฟฟ้าได้ >75% หากชาร์จประจุไฟฟ้าวันละครั้งเป็นจำนวน 4,000 รอบ DOD สามารถมใช้งานได้กว่า 10 ปี (ตามเงื่อนไขที่เหมาะสม) | ใช้งานได้ประมาณ 1,200-1,500 รอบ |
ไอเสีย/ไอพิษ | ไม่มีก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟขณะชาร์จประจุไฟฟ้า | ปลดปล่อยก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ ขณะชาร์จประจุไฟฟ้า |
การชาร์จประจุไฟฟ้า | ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. สำหรับตู้ชาร์จขนาด 200A (ขึ้นอยู่กับความจุของแบตเตอรี่) | ใช้เวลา 8-10 ชม. |
อุณหภูมิสำหรับการปฏิบัติการ | ที่อุณหภูมิ -25 °C อัตราคายประจุสูงกว่า 75% ที่อุณหภูมิ -40 °C อัตราคายประจุสูงกว่า 60% |
ที่อุณหภูมิ -25 °C อัตราคายประจุลดเหลือ 40% ที่อุณหภูมิ -40 °C อัตราคายประจุลดเหลือเกือบศูนย์ |
ระดับความปลอดภัย | ไม่มีมลภาวะโดยสิ้นเชิงระหว่างการผลิตและใช้งาน | ตะกั่ว-กรดซัลฟูริคเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม |
มลภาวะ | ความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยม ได้รับการทดสอบในระดับสูงสุดจาก EUROPEAN safety standard เหนือมาตรฐาน FEM (Federation European Manufactures) แบตเตอรี่ได้รับการทดสอบภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น การกระแทก เปลวเพลิง วัตถุมีคม | ปลดปล่อยก๊าซไวไฟ (ไฮโดรเจน) ขณะชาร์จประจุไฟฟ้า เสี่ยงต่อเพลิงไหม้หรือกระทั้่งการระเบิด |
ประสิทธิภาพ | คายประจุได้ถึงระดับ 98% ในทุกๆรอบการชาร์จประจุไฟฟ้า | ชาร์จประจุไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพได้ 60%-70% คายประจุได้ถึงระดับ 70% เท่านั้น |
(ต้องหยุดชาร์จประจุไฟฟ้า 8-12 ชม.หรือต้องสลับแบตฯลูกใหม่)
เมื่อใช้ไฟฟ้าจากแบตฯมากกว่า 60% (Discharge มากกว่า 60% DOD) จะเริ่มเกิด “ขี้เกลือ” ปฏิกิริยา Sulfation) ทำให้แบตฯเสื่อมสภาพ
ขี้เกลือ (ปฏิกิริยา Sulfation) เกิดจาก
แบตฯลิเทียมไอออนฟอสเฟต จากรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า BYD ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายรายวัน โดยลดต้นทุนในการบำรุงรักษา ค่าพลังงานไฟฟ้า หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตฯลูกใหม่
จุดศูนย์ถ่วงที่มั่นคง ได้มาตรฐานจากโรงงาน | จุดศูนย์ถ่วงที่ไม่มั่นคง (ประเด็นเรื่องความปลอดภัย) เนื่องจากออกแบบให้ใช้กับแบตฯตะกั่ว-กรด (400-600 กก.) รถโฟล์คลิฟท์อาจมีน้ำหนักเบากว่าที่ควร |
จุดศูนย์ถ่วงของน้ำหนักสินค้าที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจากโรงงาน | จุดศูนย์ถ่วงของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (ไม่ได้รับการรับรองทางวิศวกรรม) |
จอแสดงผลแบบ TFT รายงานข้อมูลโดยตรงจาก BMS (Battery Management System) | จอแสดงผลของแบตฯไม่ได้เชื่อมกับ Control panel ของตัวรถโฟล์คลิฟท์ |
มั่นใจได้ด้วยอะไหล่แท้จากโรงงาน | ต้องพึ่งพาอะไหล่บางชิ้นจากผู้จำหน่ายแบตฯแต่ละราย |
สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานตามคุณสมบัติของแบตเตอรี่ (CAN Integration) | สายไฟฟ้าอาจไม่ได้มาตรฐานตามคุณสมบัติของผู้ผลิตแบตเตอรี่ อาจเกิดการลัดวงจรและเป็นสาเหตุของไฟไหม้ |
แรงดันไฟฟ้าสูง (80 V) | แรงดันไฟฟ้าไม่คงที่ |